อาหารเมดิเตอร์เรเนียน

อาหารเมดิเตอร์เรเนียน (อังกฤษ: Mediterranean diet) เป็นการคุมอาหารที่ได้แรงดลใจจากประเพณีการทานอาหารของชาวกรีก ชาวอิตาลีภาคใต้ และชาวสเปนที่พบในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1940 และ 1950 หลักสำคัญรวมการทานน้ำมันมะกอก พืชวงศ์ถั่ว ข้าวกล้อง ผลไม้และผักเป็นจำนวนมาก ทานปลาพอประมาณจนถึงมาก ทานผลิตภัณฑ์นมโดยมากเป็นชีสและโยเกิร์ตพอประมาณ ดื่มไวน์พอประมาณ และทานผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์นอกจากปลาน้อย

มีหลักฐานบ้างว่า อาหารชนิดนี้ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและการเสียชีวิตก่อนวัย[4][5] น้ำมันมะกอกอาจเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้สุขภาพดี[6] มีหลักฐานเบื้องต้นว่า การทานน้ำมันมะกอกเป็นประจำอาจลดอัตราการตายโดยเหตุทั้งหมด (all-cause mortality) ลดความเสี่ยงมะเร็ง โรคหัวใจร่วมหลอดเลือด (CVD) ประสาทเสื่อม (neurodegeneration) และโรคเรื้อรังหลายอย่าง
Wikipedia



อาหารเมดิเตอร์เรเนียนช่วยอายุยืน

การกินอาหารเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean food) ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและไม่สูบบุหรี่ จะเป็นสิ่งที่ช่วยควบคุมน้ำหนัก ทำให้สุขภาพดีและมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้นอีกกว่า 15 ปี
การศึกษาวิจัยชิ้นใหม่ของคลินิกโภชนาการที่มีการตีพิมพ์ลงในวารสารของประเทศสหรัฐอเมริกาชี้ให้เห็นว่าการกินอาหารเมดิเตอร์เรเนียนนั้น สามารถลดปัญหาสุขภาพและลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศหญิง ซึ่งศึกษาโดยใช้ฐานข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินอาหารและการดำเนินชีวิตของทั้งชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 55-69 ปี


อาหารเมดิเตอร์เรเนียนเป็นอาหารของกลุ่มประเทศที่ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งมีลักษณะเด่นของอาหารและลักษณะการกินคือ เป็นอาหารที่ประกอบไปด้วยผักและผลไม้สดที่เป็นผลผลิตตามฤดูกาลเป็นส่วยใหญ่ ใช้น้ำมันมะกอกในการประกอบอาหาร นิยมบริโภคเนื้อปลามากกว่าเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ และมีการดื่มไวน์ในบริมาณที่พอดีควบคู่ไปกับการบริโภคอาหารแต่ละมื้อด้วย ซึ่งจากการศึกษาพบว่าผู้คนที่บริโภคอาหารเมดิเตอร์เรเนียนนี้ มีอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคหัวใจและมะเร็งน้อยกว่าผู้ที่บริโภคอาหารทั่วๆไป